"ตกงาน" จะได้เงินประกันสังคมเท่าไหร่?

05 Apr 2024 | เมื่อ 04:18 น.

 

ระบบประกันสังคมไทยคนที่ส่งเงินเข้าระบบประกันสังคมจะเรียกว่า "ผู้ประกันตน" โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามวิธีนำส่งเงินและสิทธิประโยชน์จะได้รับ ดังนี้

 

1. ผู้ประกันตน มาตรา 33: คนที่ทำงานในระบบบริษัท มีรายได้แน่นอนทุกเดือน เป็นภาคบังคับให้นายจ้างและลูกจ้างต้องส่งเงินสมทบทุกเดือน ในอัตราร้อยละ 5% เท่ากัน สูงสุดไม่เกิน 750 บาท ซึ่งรัฐบาลจะสมทบเพิ่มให้อีก 2.75%

 

**ได้รับความคุ้มครอง 7 กรณี (กรณีเจ็บป่วย กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีสงเคราะห์บุตรและกรณีชราภาพ, กรณีว่างงาน)

 

2. ผู้ประกันตน มาตรา 39: เป็นผู้ประกันตนม.33 มาก่อน (12 เดือน) เป็นภาคสมัครใจ คือเคยทำงานประจำแล้วลาออกหรือตกงาน (6 เดือน) หรือเป็นนายตัวเอง แล้วอยากรับสิทธิประโยขน์จากประกันสังคมอยู่ จึงได้นำส่งเงินด้วยตัวเอง เดือนละ 432 บาท ซึ่งรัฐบาลช่วยสมทบอีก 120 บาททุกเดือน

 

**ได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี (กรณีเจ็บป่วย กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีสงเคราะห์บุตรและกรณีชราภาพ)

 

3. ผู้ประกันตน มาตรา 40 เป็นแรงงานนอกระบบหรืออาชีพอิสระ เช่นพ่อค้า,แม่ค้า,รับจ้างทั่วไป,ผู้ใช้แรงงาน ไม่เคยเป็นผู้ประกันตน.33, ม.39และทำประกันสังคม มาก่อน โดยมีทางเลือกในการส่งเงินเข้ากองทุนประกันสังคมคือ เดือนละ 70 บาท, 100 บาท และ 300 บาท

 

**ได้รับความคุ้มครอง 3-5 กรณี (กรณีเจ็บป่วย, กรณีทุพพลภาพ, กรณีตาย, กรณีสงเคราะห์บุตรและกรณีชราภาพ)

 

ซึ่งจะเห็นได้ว่าตามกฎหมายและสถานการณ์ปกติ คนที่จะได้รับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานคือผู้ประกันตน ม. 33 โดยจะได้รับเงินทดแทนแต่ละดรณีดังต่อไปนี้

 

1.กรณีถูกเลิกจ้าง: จะได้รับเงินทดแทนอัตราร้อยละ 50 ครั้งละไม่เกิน 180 วัน (6 เดือน)
เช่น เงินเดือนเฉลี่ย 15,000 บาท จะได้รับเงินเดือนละ 7,500 บาท เป็นเวลา 6 เดือน


2.กรณีลาออก: จะได้รับเงินทดแทนอัตราร้อยละ 30 ครั้งละไม่เกิน 90 วัน (3 เดือน)
เช่น เงินเดือนเฉลี่ย 15,000 บาท จะได้รับเงินเดือนละ 4,500 บาท เป็นเวลา 3 เดือน

แต่ไม่ว่าจะลาออกเองหรือถูกเลิกจ้าง สิ่งแรกที่ต้องทำคือ ลงทะเบียนว่างงาน 30 วันนับจากวันที่ลาออกหรือถูกเลิกจ้าง

ทั้งนี้หากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินไม่ปกติที่ส่งผลต่อรายได้ของผู้ประกันตน อย่างเหตุการณ์ โรคไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ระบาด ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนและคนทุกระดับชั้น ทั้งถูกเลิกจ้าง, หยุดงาน, บริษัทปิดตัวลง
กองทุนประกันสังคมอาจมีการปรับเปลี่ยนอัตราเงินสมทบหรือสิทธิประโยชน์อื่นๆ เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ประกันตน ซึ่งก็มีดังต่อไปนี้

 

"นายจ้าง"

ลดอัตราเงินสมทบ (ม.33, ม.39)

ม.33 = นายจ้าง เหลือร้อยละ 4, ลูกจ้าง เหลือร้อยละ 1 ระยะเวลา 3 เดือน

ม.39 = ลดเหลือ 86 บาทต่อเดือน ระยะเวลา 3 เดือน

 

ขยายเวลาส่งเงินสมทบ (ม.33, ม.39, ม.40)

ขยายงวดเดือน มีนาคม-พฤษภาคม ออกไปอีก 3 เดือน

งวด มีนาคม จ่ายวันที่ 15 กรกฎาคม

งวด เมษายน จ่ายวันที่ 15 สิงหาคม

งวด มิถุนายน จ่ายวันที่ 15 กันยายน

 

"ลูกจ้าง"

กรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัย (ม.39, ม.40)

ไม่ได้ทำงาน นายจ้างไม่ให้ทำ หรือบริษัท,ร้านค้าหยุดกิจการชั่วคราวจากคำสั่งรัฐบาล แต่อาจจะยังไม่ได้ลาออกหรือถูกเลิกจ้าง เพียงแค่หยุดทำงาน ทำให้ไม่มีรายได้

จะได้รับเงินว่างงาน ร้อยละ 62 ของค่าจ้าง ระยะเวลา 3 เดือน

 

กรณีว่างงานจากการลาออกหรือถูกเลิกจ้าง (ม.33)

กรณีลาออก = ได้รับเงินร้อยละ 45 ระยะเวลา 90 วัน

กรณีถูกเลิกจ้าง = ได้รับเงินร้อยละ 70 ระยะเวลา 200 วัน

 

เงินชดเชยที่ได้รับอาจจะไม่เพียงพอสำหรับบางคนที่มีรายจ่ายเยอะ มีหนี้บัตรเครดิต,สินเชื่อหรือแม้แต่ค่าใช้ในการรักษาโรคโควิด19 ก็อาจไม่เพียงพอซึ่งหากไม่ได้ซื้อประกันโรคนี้โดยเฉพาะก็อาจจะทำให้ลำบากได้ และสิ่งสำคัญที่สุดคือค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นค่าอาหาร, ค่าเช่าห้อง, ค่าบริการโทรศัพท์, ค่าน้ำค่าไฟ ฯลฯ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นทั้งนั้น

 

ซึ่งนั้นก็ทำให้เห็นถึงประโยชน์ของเงินสำรอง, เงินฉุกเฉินได้ดี เพราะได้ถูกนำออกมาใช้ในยามที่เกิดวิกฤตและช่วยให้อยู่รอดได้โดยไม่มีปัญหาเรื่องเงิน เพราะบางครั้งก็ไม่สามารถคาดเดาอนาคตได้ว่าจะเกิดเหตุวิกฤตร้ายแรงอะไรบ้างที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ, การเงินและชีวิตของมนุษย์ทุกระดับชั้น